แน่นอนว่า แผนภูมิ Bitcoin Rainbow Chart เป็นของจริง ดังนั้น ครั้งต่อไปที่มีคนขอให้คุณนับสายรุ้ง ไม่ใช่พายุฝนฟ้าคะนอง ให้นึกถึงคริปโตให้เจาะจงมากขึ้น เมื่อพูดถึง Bitcoin นั้น Bitcoin Rainbow Chart เป็นวิธีการใหม่ที่มีความน่าเชื่อถือสูงในการแสดงภาพการเคลื่อนไหวของราคาในอดีตของ Bitcoin
เรียกอีกอย่างว่า BTC rainbow chart เป็นเครื่องมือที่เป็นมิตรต่อนักลงทุน ประกอบไปด้วย การเคลื่อนไหวของราคาในอดีต (historical price moves) แถบสีที่มีสีสัน (colorful bands) และความอดทนต่อความผันผวนเป็นศูนย์ (zero tolerance for volatility) เราอาจพูดเกินจริงไปหน่อย โดย Bitcoin Rainbow Chart แสดงให้เห็นราคาที่ไม่ปรุงแต่ง ทำให้ไม่ปนเปกับความผันผวนรายวัน และใช้แบบจำลองทางสถิติ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในฐานะเครื่องมือประเมินราคา Bitcoin ที่เชื่อถือได้
ลองมาดูกันว่า คืออะไร Bitcoin Rainbow Chart และใช้งานมันได้อย่างไร
ความต้องการ Bitcoin Rainbow Chart
Bitcoin ประสบความสำเร็จในปี 2009 ท่ามกลางความกังวลและความผันผวน และในขณะที่เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคส่วนใหญ่ เช่น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MA), Bollinger bands ฯลฯ ถูกนำมาใช้เพื่อกำหนดระดับการซื้อ-ขาย การควบคุมความผันผวนของราคายังคงเป็นสิ่งที่ท้าทาย
ความท้าทายเช่นนี้ทำให้เกิดความต้องการเครื่องมือตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ที่จะให้มุมมองมุมสูงของการเคลื่อนไหวของราคา BTC โดย Bitcoin rainbow chart เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ใช้งานวางแผนการซื้อขายและการลงทุนระยะยาวได้
ทำความเข้าใจ Bitcoin Rainbow Chart
Bitcoin Rainbow Chart นั้น เป็นเครื่องมือที่ผ่านการทดสอบและน่าเชื่อถือทางคณิตศาสตร์ซึ่งใช้แถบสีเพื่อกำหนดโซนการซื้อขายที่สำคัญ และแน่นอนว่า มันแสดงให้เห็นอย่างเหมาะสมให้เป็นสีรุ้ง ซึ่งแตกต่างจากแผนภูมิการซื้อขายอื่น ๆ Bitcoin Rainbow Chart ซ้อนทับรูปแบบราคาในอดีตบนแผนภูมิลอการิทึมคล้ายสีรุ้ง ตัดความผันผวนและข้อมูลที่ผิดในกระบวนการออกไป
ศัพท์แสงมากเกินไปไหม? ต่อไปนี้เป็นอร์ชันที่เรียบง่าย
จำเรื่องการเติบโตแบบก้าวกระโดด (exponential growth) ไหม? เส้น /แผนภูมิ เริ่มต้นอย่างช้า ๆ และพุ่งสูงสุดสู่ระดับหนึ่ง
ลองพิจารณาความผกผันของสิ่งนี้ เส้นลอการิทึมที่เริ่มต้นอย่างรวดเร็วและแผ่ออกไปเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป นอกจากนี้ ทั้งเส้นเอกซ์โปเนนเชียลและเส้นลอการิทึมยังคงเคลื่อนออกจากแกน X เปลี่ยนจุดสูงสุดและจุดทะลุสำหรับทุกวัฏจักรขาขึ้น/ขาลง
องค์ประกอบของ Bitcoin Rainbow Chart
เราลองมาดูเรื่อง “Colored Bands” กัน แน่นอนว่า BTC Rainbow chart ประกอบไปด้วยแถบสีหลายสี สีน้ำเงิน แถบที่อยู่ล่างสุด และสีแดงเข้ม แถบที่อยู่ด้านบนสุด
ต่อไปนี้คือองค์ประกอบทั้งหมดของแผนภูมิสีรุ้ง และมีความหมายต่อคุณในฐานะนักลงทุน
- สีแดงเข้ม (Dark Red) : FOMO สุดขีด มีแนวโน้มที่จะดิ่งแรง/ฟองสบู่
- สีแดง (Red) : โซนซื้อมากเกินไป (Overbought zone) แนะนำให้ทำกำไร
- สีส้มเข้ม (Dark Orange) : ผู้ซื้อเป็นใหญ่และเกิด FOMO อย่างรวดเร็ว
- สีส้มอ่อน (Light Orange) : ดินแดนที่สมดุลกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาน
- สีเหลือง (Yellow) : ดินแดน BTC hodler
- สีเขียวอ่อน (Light green) : ราคา BTC อยู่ในโซนซื้อ
- สีเขียว (Green) : ราคาขายกำลังดำเนินอยู่ โซนสะสม
- สีฟ้าอ่อน (Light blue) : โซนซื้อที่ชัดเจน
- สีน้ำเงิน (Blue) : ขาลงดำเนินอยู่
ตามที่กล่าวไปแล้ว แต่ละแถบมีความหมายต่อนักลงทุน ปัจจุบัน BTC กำลังซื้อขายในโซนสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นพื้นที่ “Fire Sale” ขายในราคาถูก ที่ Twitterati อ้างถึง
สิ่งเหล่านี้ไม่ควรนำมาเป็นคำแนะนำในการลงทุน คุณควร DYOR (Do-Your-Own-Research) ก่อนดำเนินการลงทุน
ความเป็นมาของ Bitcoin Rainbow Chart
แผนภูมิสีรุ้งพิจารณาราคาในอดีตและปัจจุบันสำหรับการพลอตกราฟ อย่างไรก็ตาม แผนภูมิเองก็มีประวัติ BTC rainbow chart เป็นผลงานการผลิตของ Azop (ผู้ใช้งาน Reddit) ซึ่งเป็นผู้สร้างแบบเดียวกันในปี 2014
มันเริ่มต้นจากแผนภูมิที่สนุก แต่ดึงดูดสายตาอย่างรวดเร็ว เมื่อแผนภูมิได้รับความนิยม Trolololo ซึ่งเป็นผู้ใช้งาน Bitcointalk ได้จับคู่กับ Logarithmic Regression ในปี 2014 ทำให้มีรูปแบบและวัตถุประสงค์ในกระบวนการนี้
นี่คือเวอร์ชันทางการของ Rainbow Chart ที่นำเสนอบน Blockchaicenter.net โปรดทราบว่าบุคคลที่สามอย่าง Uber Holger ได้ปรับแต่งและพัฒนาแผนภูมิเพิ่มเติม ในที่สุดก็อัพโหลดแผนภูมิเดียวกันบน Blockchain Center
ข้อดีและข้อเสียของ Bitcoin rainbow chart
BTC rainbow chart เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ แต่ก็เหมือนกับแหล่งข้อมูลเฉพาะแผนภูมิอื่น ๆ มันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นกัน
ข้อดี :
- มีความแม่นยำตั้งแต่ออกมา
- ใช้แบบจำลองทางสถิติที่น่าเชื่อถือ (การถดถอยลอการิทึม)
- มีประโยชน์เมื่อพูดถึงการพัฒนาราคาในระยะยาวโดยปราศจากเสียงรบกวน (ความผันผวน)
- เข้าใจง่ายแม้เป็นตัวบ่งชี้แบบสแตนด์อโลน
- ปราศจากความผันผวนและการรบกวนรายวัน
ข้อเสีย :
- ไม่เหมาะสำหรับการวัดแนวโน้มราคาในระยะสั้น
- แผนภูมิต้องการเวลามากขึ้นในการเติบโต
- ไม่ใช่เครื่องมือทำนายราคาในอนาคต
การถดถอยลอการิทึมเป็นรากฐานของสีรุ้ง
การถดถอยแบบลอการิทึมเป็นเทคนิคการสร้างแบบจำลองทางสถิติที่ใช้ในการประเมินกระบวนการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว/การสลายตัวที่ช้าลงเมื่อเวลาผ่านไป การเจริญเติบโตของทารก ความเป็นกรดของสารละลาย และความเข้มของเสียง เนื่องจากฟังก์ชันบางอย่างแสดงได้ดีที่สุดโดยการถดถอยลอการิทึม
พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์และสร้างความสัมพันธ์ที่เส้นตรงมาตรฐานไม่สามารถเป็นตัวแทนได้ ในกรณีของบิตคอยน์ ราคาของ BTC (การเติบโตเริ่มต้นอย่างมหาศาล) และเวลาที่ผ่านไปไม่สามารถสัมพันธ์กันผ่านทางเส้นตรงได้ จึงต้องมีการถดถอยแบบลอการิทึม
แต่คำถามก็คือ การถดถอยแบบลอการิทึมเข้ากับการบรรยายแผนภูมิสีรุ้งได้อย่างไร?
แผนภูมิต้นฉบับที่เผยแพร่โดย Azop นั้นเกี่ยวกับการเข้ารหัสสีการเคลื่อนไหวของราคา โดยเป็นส่วนหนึ่งของกราฟเชิงเส้น แผนภูมิการถดถอยแบบลอการิทึมจาก Trolololo ผสมผสานอย่างลงตัวกับแผนภูมิของ Azop ซึ่งเป็นการพัฒนาแผนภูมิสีรุ้งที่เต็มไปด้วยข้อมูลเชิงลึกที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน
แผนภูมิที่ไม่มีการถดถอยแบบลอการิทึม (Logarithmic regression)
ดูว่าราคาขยับขึ้น 10 เท่าได้อย่างไร และวันเวลาที่จะบรรลุเท่าเดิมก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือสิ่งที่เราเรียกว่าการเติบโตแบบราบเรียบ/ชะลอตัว
แผนภูมิสีรุ้งทำงานอย่างไร
แผนภูมิสีรุ้งมีประโยชน์ดังต่อไปนี้
- เป็นตัวทำนายโซนการลงทุนเฉพาะแถบมาตรฐาน
- กำหนดการกลับตัวของราคาเมื่อใช้กับอินดิเคเตอร์ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
- การค้นหาโซนทำกำไร หากคุณใช้กับตัวบ่งชี้แนวโน้มเฉพาะ
- สรุปโซนที่อาจร้อนแรง (ซื้อมากเกินไป)
- ค้นพบอนาคตที่เป็นไปได้ในแง่ของการสะสม BTC ในราคาที่มีส่วนลด
การอ่าน Bitcoin Rainbow Chart
การอ่าน Bitcoin Rainbow Chart เป็นเรื่องง่าย เนื่องจากใช้ข้อมูลราคาในอดีต คุณจะเห็นว่าทุกการเคลื่อนไหวของราคาตั้งแต่ปี 2014 จะตกลงในพื้นที่เฉพาะของสีรุ้ง
ตรงกลางนั้นเรามีโซนสีเหลืองตรงกลาง ซึ่งทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นของแผนภูมิ แถบสีที่อยู่เหนือและใต้แถบสีเหลืองเรียกว่าส่วนเบี่ยงเบน
เมื่อ BTC เคลื่อนเข้าสู่โซนอุ่น (สีแดงและสีส้ม) นักลงทุนเริ่มพิจารณาว่าราคาจะอยู่ในช่วงฟองสบู่ การทำกำไรมักจะตามมาเมื่อ BTC พักตัวในเขตอบอุ่นเหล่านี้ชั่วขณะหนึ่ง
ยกตัวอย่างเช่น : BTC อยู่ในโซน “สีส้มอ่อน (Light Orange)” ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2021 ราคาอยู่ที่ $67,492 ในที่สุด BTC ก็เห็นการทำกำไรที่ชัดเจนในอีกไม่กี่เดือนถัดมา
เกิดแรงเทขายในโซนร้อนแรง เช่น สีแดง และสีส้ม นั่นหมายความว่า การซื้อขาย BTC สูงกว่ามูลค่ายุติธรรมและอยู่ใน “โซนฟองสบู่ (Bubble Zone)”
ในทางตรงกันข้าม BTC เคลื่อนที่ไปยังแถบสีเขียวและสีน้ำเงิน (โซนที่เย็นกว่า) บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นในการซื้อและการสะสม เราคาดว่า BTC จะซื้อขายด้วยราคาลดพิเศษในโซนเหล่านี้
ตัวอย่างเช่น BTC อยู่ในโซนสีน้ำเงินในช่วงที่ร่วงหนัก (Crash) ในปี 2020 เมื่อราคาลดลงต่ำถึง $5,000 ตามกราฟสีรุ้ง BTC แล้ว นี่คือโซน “Fire Sale” และเหมาะสำหรับการสะสม
จากระดับราคาปัจจุบัน BTC อยู่ในโซนสีน้ำเงิน ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเป็น fire sale ตามแผนภูมิสายรุ้ง
ทั้งนี้ ไม่เหมือนกับการร่วงหนักในปี 2020 ที่ราคาเกือบแตะด้านล่างของแถบสีน้ำเงิน การวางตำแหน่งราคาในปัจจุบันดูเหมือนจะสูงขึ้นเล็กน้อย หมายความว่าจุดต่ำสุดของตลาดหมีนี้อาจยังคงอยู่
ตัวบ่งชี้ที่รองรับสำหรับตัวบ่งชี้ BTC rainbow
อินดิเคเตอร์ทรงพลังพอ ๆ กับแผนภูมิสายรุ้ง ทำงานได้ดียิ่งขึ้นหากใช้ร่วมกันอินดิเคเตอร์ต่อไปนี้
1. Volume indicators
การเคลื่อนไหวไซด์เวย์บนกราฟสีรุ้งเป็นเรื่องปกติ ในระยะยาว ราคาจะไม่ลดลงหรือเพิ่มขึ้นในทันทีทันใด ดังนั้น ในฐานะนักลงทุนที่รอบรู้ คุณอาจพิจารณาจับคู่แผนภูมิสีรุ้งกับตัวบ่งชี้ปริมาณ (Volume indicator) เพื่อพิจารณาการลดลง การเพิ่มขึ้น และการดึงกลับ
อินดิเคเตอร์ปริมาณที่สมดุล (Balance volume) และการสะสม (Accumulation) และการกระจาย (Distribution) เป็นเครื่องมือปริมาณเฉพาะที่ดีที่สุดที่จะใช้กับแผนภูมิสีรุ้ง
จากรูป อินดิเคเตอร์ Balance Volume คือเส้นสีน้ำเงิน และ Accumulation/Distribution เส้นสีเขียว
2. Trend indicators
แนวโน้ม (Trend) ช่วยให้คุณปรับกลยุทธ์การลงทุนระยะยาวได้อย่างละเอียด ตัวอย่างเช่น หากคุณรู้ว่าราคากำลังมุ่งหน้าไปที่ใดในระยะสั้น คุณสามารถใช้แถบราคาสายรุ้งได้ดีกว่า ตัวอย่างเช่น หากแนวโน้มบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวของราคาที่อยู่ในช่วงขอบเขต (rangebound) จะเป็นการดีกว่าหากถือไว้ เนื่องจากราคาแม้จะอยู่ในกราฟสีรุ้ง ก็จะเคลื่อนที่ไปด้านข้างชั่วขณะหนึ่ง
ในกรณีของแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) ซึ่งราคา (ในระยะสั้น) ปรับขึ้นสูง อาจมีการขยับขึ้นอย่างรวดเร็วจากแถบสีที่มีอยู่หรือแม้แต่ภายในแถบสีเดียวกัน
RSI (Relative Strength Index), Bollinger Bands และ MACD (Moving Average Convergence/Divergence) คือ อินดิเคเตอร์แนวโน้มที่น่าเชื่อถือมากขึ้นสำหรับแผนภูมิสายรุ้ง
3. Sentimental indicators
แผนภูมิสีรุ้งทำงานได้ดีเป็นพิเศษกับ Bitcoin Fear and Green Index ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่วัดความรู้สึกทางสังคม ความผันผวนของราคาในระยะสั้น ปริมาณตลาด แนวโน้มการค้นหา และการครอบงำตลาด
Bitcoin rainbow chart vs. stock-to-flow
แผนภูมิ Bitcoin stock-to-flow เป็นอีกหนึ่งอินอิเคเตอร์คาดการณ์ราคาที่เชื่อถือได้ อย่างไรก็ตาม แผนภูมินี้แตกต่างจากแผนภูมิสีรุ้งหลายประเด็นสำคัญด้วยกัน ในขณะที่กราฟสีรุ้งพิจารณาราคาในอดีตและการถดถอยลอการิทึมเพื่อกำหนดโซนมูลค่ายุติธรรมสำหรับราคาเหล่านั้น แบบจำลอง Stock-to-Flow จะคำนึงถึงราคาและความขาดแคลน BTC
แผนภูมิ Stock-to-Flow สำหรับ BTC ประกอบด้วยสองปัจจัยหลัก ได้แก่ Stock หรืออุปทาน BTC ทั้งหมด (21 ล้าน) และ Flow หรืออัตราการขุดตามระยะเวลา ไม่เหมือนกับกราฟสีรุ้งที่เป็นไปตามแบบจำลองราคา โดย stock-to-flow จะพิจารณารอบการลดลงครึ่งหนึ่ง (halving cycles) ของ Bitcoin เนื่องจากรางวัลการขุด BTC ลดลงครึ่งหนึ่ง อัตรา stock-to-flow คาดว่าจะเพิ่มขึ้น (เมื่อ flow ลดลง) ดังนั้น อัตรา stock-to-flow จะเพิ่มขึ้นเมื่อเกิด Halving ทำให้ราคาสูงขึ้นตามไปด้วย
พูดง่ายๆ ก็คือ แผนภูมิสีรุ้ง BTC มุ่งเน้นไปที่ราคา ในขณะที่แผนภูมิ stock-to-flow เน้นที่ความขาดแคลน มุมมองนี้คือสิ่งที่เกี่ยวข้องของ Bitcoin กับสินค้าโภคภัณฑ์
แผนภูมิ Rainbow chart เชื่อถือได้แค่ไหน?
แผนภูมิสีรุ้งมีความแม่นยำตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงวันนี้ ราคาไม่ได้เบี่ยงไปจากโซนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นช่วงตลาดกระทิงหรือช่วงขาลง การตรวจสอบนั้น คุณอาจตรวจสอบการคาดการณ์ราคาจากโมเดล stock-to-flow ในช่วง Halving และดูว่าราคาอยู่ในโซนใดในช่วงเวลานั้น
เส้นแนวนอนสีขาวคือจุด Halving สังเกตว่าราคา BTC ลดราคาลงอย่างไรในช่วง Halving และราคาขยับขึ้นหลังจากเหตุการณ์นั้นอย่างไรบ้าง
แหล่งข่าว -> beincrypto.com