มองผ่านอนาคต METAVERSE

มองผ่านอนาคต METAVERSE

มองผ่านอนาคต METAVERSE

วันนี้จะพูดถึงเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ว่าจะอีก 3 ปีหรือ 10 ปีข้างหน้า ในขณะนี้โลกของเราอยู่ในยุคสมัยที่ 3 หรือก็คือWEB 3.0 ซึ่งศัพท์ที่จะเห็นและได้ยินบ่อยครั้งเช่น METAVERSE, AR/VR Technology, AI, 3D Printing, Big Data, IOT ( Internet of Thing) ซึ่งเป็นเรื่องใหม่และไม่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา สิ่งที่จะพูดวันนี้ดือโลกของอนาคตเป็นหลัก คือ ในอนาคตโลกที่ใช้ Block chain จะเป็นอย่างไร WEB 3.0 คืออะไร จะมีโมเดลธุรกิจอะไรใหม่เกิดขึ้นบ้าง และในอนาคตมนุษย์จะสามารถทำอะไรที่แตกต่างจากในอดีตได้บ้าง โดยยุคสมัยที่ 3 จะเริ่มตั้งแต่ปี 2021 จนถึงปี 2030 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุด

Disruptive Technologies

ในอดีตเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาสิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานใหม่ที่่เป็นตัวแปรสำคัญในการทำธุรกิจ เช่นในยุคของ WEB 1.0 ซึ่งอยู่ในช่วงปี 1975 มีการคิดค้นคอมพิวเตอร์ขึ้น ซึ่งในยุคนั้นสิ่งที่เราทำได้คือการอ่านข้อมูลที่ได้รับมาเท่านั้น เป็น one-way communication ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ หนังสือพิมพ์ที่มีการวางโครงสร้างว่าในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ ท่านจะสามารถอ่านเรื่องอะไรได้บ้าง มีรูปแบบหน้าสื่อการจัดวางที่ตายตัว (Static Page)

Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐาน)  ในยุค 1.0 ซึ่งเป็นยุคในช่วงปี1990 ถึง 2000 คือเครื่องคอมพิวเตอร์ และสิ่งที่มีในยุคนั้นคือ Private Server ซึ่งมีสิ่งที่เรียกว่า Modems เป็นอุปกรณ์หลักในการทำงานต่างๆ

ต่อมาในยุคสมัยที่ 2 หรือยุค WEB 2.0 ตั้งแต่ช่วงปี 2000 จนถึงปี 2020 เกิดเทคโนโลยีใหม่ที่ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานคือระบบ cloud Computing เป็นสมัยที่มีโทรศัพท์มือถือเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน มีสัญญาณ 4G ทำให้ทำอย่างรวดเร็วขึ้น โดยในยุค WEB 2.0 นี้มีการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งจากเดิมที่เราสามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว ในยุคนี้ท่านสามารถตอบโต้ เขียนข้อมูล หรือเผยแพร่ข้อมูลของตนเองสู่สังคมออนไลน์ได้ เป็นระบบ Read and write หรือที่เรียกว่า User-generated Content: UGC) ที่คนสามารถส่งกลับข้อมูลไปมาหากันได้ Peer to peer feedback ดังนั้นสิ่งที่เราเห็นในชุดข้อมูลที่ได้รับจะไม่ได้เป็นแต่หน้าเดียวแบบเดียวกันอีกต่อไป ข้อมูลที่ได้รับจะมี Dynamic Page กล่าวคือ จะเป็นการที่เราได้ชุดข้อมูลที่เราสนใจได้ง่ายขึ้น ถี่ขึ้น สิ่งที่ได้รับจะมีความแตกต่าง มีความเป็นปัจเจกบุคคลมากขึ้น และการที่เทคโนโลยีเติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วทุก ๆ 2 ปีนี้เองทำให้คนเข้าถึงกันได้มากขึ้น ซึ่งในยุคแรก ๆ อาจจะสื่อสารกับผ่านตัวหนังสือเท่านั้น ต่อมาก็พัฒนาเป็นภาพนี่ง และภาพเคลื่อนไหวที่มีความละเอียดสูงขึ้นในเวลาต่อมา เกิดการสื่อสารแบบ real time ได้ โดยข้อดีของการสื่อสารออนไลน์แบบนี้คือเราไม่ต้องเสียต้นทุนที่เพิ่มขึ้น (Marginal cost) เช่น ในการเปิดการเรียนการสอน ผู้เปิดต้องมีต้นทุนค่าสถานที่ ยิ่งผู้เรียนมากการที่จะต้องมีพื้นที่ห้องเรียนให้เพียงพอต่อผู้เข้าเรียนย่อมสูงขึ้น กลับกันในการเรียนแบบออนไลน์ที่ผู้สอนมีเพียงตันทุนเดียวการที่มีผู้เรียนมากขึ้นไม่ได้ส่งผลต่อตันทุนของผู้สอน ทำให้ไม่ต้องเสียต้นทุนส่วนเพิ่ม

อย่างไรก็ดีในยุค WEB 2.0 ก็ยังคงมีข้อเสียคือ 1. ปัญหาการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล การนำข้อมูลพื้นฐานไปใช้ประโยชน์ สังเกตุได้จากการที่บริษัทเทคโนโลยีใหญ่ ๆ เช่น Facebook Apple Google นำข้อมูลของเราที่ใช้ผลิตภัณฑ์ไปใช้ประโยชน์ต่อ เห็นได้จากการที่เราสนใจของสิ่งหนึ่ง ภายหลังแม้จะไม่ได้เข้าไปดูอีก ก็จะพบโฆษณาหรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับเรื่องที่เราสนใจในขณะนั้นขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอ  2. ไม่มีการแบ่งปันการใช้ Data base ร่วมกัน เช่น Facebook จะไม่ยอมแบ่งปัน Data base ให้ Google  และ Google ก็จะไม่แบ่งข้อมูลให้ Apple และ 3. การเข้าถึง ใช้งานข้อมูลยังคงต้องผ่านตัวกลางอย่าง มือถือ tablet คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการออกแบบเป็นเพียงจอสี่เหลี่ยม

ทั้งนี้เนื่องจากโลกมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด เป็นการพัฒนาแบบยกกำลัง (Exponential) ซึ่งเมื่อมันพัฒนามาได้จุดหนึ่งเปรียบเสมือนจุด Inflection point แล้วกราฟจะพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วดังนั้นในยุค WEB 3.0 หรือ อีก 10 ปีข้างหน้านี้จะเป็นยุคที่มีการเติบโตของเทคโนโลยีอย่างมาก และเป็นการทำงานร่วมกันทั้งหมด

โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ในยุค 3.0 ที่เราจะได้เห็นประกอบด้วย

1. AR (Augmented Reality) / VR (Virtual Reality) Technology แบบ METAVERSE

ความแตกต่างของ AR และ VR

ตัวอย่าง: Facebook รับมือร่วมกับแว่นตา Ray brand ซึ่งเลนซ์แว่นที่ทำขึ้นแทนที่จะเป็นแว่นสายตกปกติจะเป็นรูปแบบของ Digital lens ที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างโลกความเป็นจริงและโลกเสมือนจริงเข้าด้วยกันได้ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า AR และหากเราสามารถโต้ตอบ (Interact) กับสิ่งของต่างๆในโลกออนไลน์ได้โดยตรงก็จะเป็นการผสมผสานโลกเสมือนและโลกความเป็นจริงเข้าด้วยกัน (Mixed Reality)

นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมาทาง Facebook ได้ทุ่มเทเงินจำนวนมากในการพัฒนาโมเดล 3D ในวงการ AR เพื่อให้เกิดการก้าวพ้นจากกรอบการใช้งานเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ยังเป็นแค่จอสี่เหลี่ยม ซึ่งจะทำให้การทำงานอินเตอร์เน็ตในอนาคตเป็นแบบสามมิติ มีการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิดเข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืน จึงไม่แปลกหากในอีก10 ปีข้างหน้าเราจะเป็นสังคมที่ใส่แว่นตา หรืออุปกรณ์ที่เป็น Digital lens แทนการก้มมองจอมือถือ

นอกจาก AR (Augmented Reality) สำหรับ VR (Virtual Reality) ก็จะเป็นสังคมโลกเสมือนที่เราสามารถสร้างตัวตนปรับแต่งโลกได้ตามจินตนาการ ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกความเป็นจริง ซึ่งโลกเสมือนกับโลกความเป็นจริงจะเชื่อมต่อกันเมื่อเทคโนโลยีของ METAVERS คอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพเพียงพอ ด้วยประสิทธิภาพการทำงานคาดว่าในอีก  5 ปีข้างหน้าหรืออาจจะเร็วกว่า มนุษย์เราจะสามารถสื่อสารผ่านรูปแบบ Hologram ได้

2. IOT (Internet of Thing)

คือ สิ่งของที่เชื่อมโยงกันกับอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook มีการพัฒนาถุงมือเพื่อตอบสนองต่อประสาทสัมผัสที่ใช้ในการตอบสนอง (Interact) กับ โลกออนไลน์ ของที่เราเห็นในยุคแต่ละยุคจะเป็นตัวเชื่อมการใช้งานเข้าด้วยกัน กล่าวคือ ยุค WEB 1.0 คอมพิวเตอร์ฉลาดแค่อย่างเดียว ยุค WEB2.0 นอกจากคอมพิวเตอรก็มีโทรศัพท์มือถือ มีนาฬิกา Smart watch ในยุค WEB 3. 0 จะไม่ได้มีแค่คอมพิวเตอร์ โทรศัพย์มือถือ หรือแค่นาฬิกา แต่จะมีการพัฒนาในสิ่งของทั่วไปในชีวิตประจำวันด้วย เช่น ถุงมือ โต๊ะ เก้าอี้ ตู้เย็น ซึ่งทุกอย่างสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้หมด มีการแบ่งปันข้อมูลกันได้อย่างเสรี โดยที่อินเตอร์เน็ตก็ไม่ได้มาจากที่ไหน แต่มาจากท้องฟ้าเป็นการส่งสัญญาณผ่านอากาศจากดาวเทียม (Internet from the sky) โดยไม่ต้องใช้ใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)

โดยปัจจุบันก็มีการแข่งขันระหว่าง

1. Google : Project Loon

เป็นการส่งบอลลูนวนรอบโลกเพื่อยิงสัญญาณอินเตอร์เน็ต แก้ไขปัญหาคนบางพื้นที่ที่อินเตอร์เน็ตเข้าไม่ถึง เช่น ทวีปแอฟริกา

2. Facebook: Internet.org

เป็นการทำโดรน/เครื่องบิน โดยที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานขับเคลื่อน (Solar power) ซึ่งใช้ในการกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ที่เข้าไปไม่ถึงเช่นไซบีเรียและ

3. Elon Musk: Starlink (Elon Musk’s satellite internet Venture)

เป็นการยิงสัญญาณมาจากดาวเทียม

อนึ่ง เมื่อพูดถึงพลังงาน ต้นทุน Solar Power : ในปี 1977 การทำงานด้วย Solar Power จะตกอยู่ที่ 77 คอลล่าร์สหรัฐ ผ่านมา 40 ปีราคาต้นทุนลดลงมาเหลืออยู่ที่ประมาณ 30 เซน แสดงให้เห็นว่ายิ่งเรามีการเติบโตมากเท่าไหร่ต้นทุนการผลิตของอาเป็นเหล่านี้ย่อมถูกลง ดังนั้นตราบใดที่ยังมีแสงจากพระอาทิตย์โอกาสที่เราจะมีไฟฟ้าฟรีใช้ย่อมเกิดขึ้นแน่นอน บ้านที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองถ้าใช้ไม่หมดก็สามารถนำไฟฟ้าที่เหลือมาขายให้กับคนอื่นได้ เกิดเป็นการแลกเปลี่ยนแบบ Peer to Peer (P2P)

3. AI

คือปัญญาประดิษฐ์ มีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองเหมือนมนุษย์ ซึ่งสามารถพัฒนาไปถึงขึ้นที่จะสามารถแข่งกับคนจริง ๆ ได้ เช่น เหตุการณ์ที่มีการแข่งหมากรุกระหว่างแชมป์โลกกับ AI หรือ การที่ใช้ AI ในระบบขนส่ง เช่น Electronic Car ที่ใช้ AI ในการควบคุม รถสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองแบบไร้คนขับ หรือ การที่จะใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน ซึ่งการเรียนรู้ของ AI สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวหรือสิ่งต่าง ๆ นั้นรวดเร็วกว่าสมองของมนุษย์

จะเห็นได้ว่าในยุค WEB 3.0 การมของ Block chain, crypto currency, NFT (Non-fundable token) หรือเครื่องพิมพ์สามมิติ ของเหล่านี้จะเข้ามีบทบาทร่วมกันทั้งหมดอย่างเชื่อมโยงกันและกันในอีก 10 ปี ข้างหน้า ในยุค WEB 3.0 จึงเป็นการแก้ไขข้อจำกัดในยุค WEB 2.0

สิ่งที่จะเกิดใน WEB 3.0

1. Data Operability

2. Decentralized Web

คือการที่ไม่ไช่บริษัทหนึ่งบริษัทใดเป็นเจ้าของข้อมูลพื้นฐาน (Database) หรือ เจ้าของอินเตอร์เน็ต แต่คนทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้โดยการถือสิ่งที่เรียกว่า Protocol Token

ตัวอย่าง: Ethereum Blockchain ที่จะมีการจัดชั้นไว้ 4 ชั้นด้วยกัน โดย

ขั้นแรกจะเรียกว่า state of account หรือ Value registry ซึ่งเป็นขั้นจำเป็นพื้นฐาน (Fundamental layer) ที่เราใส่มูลค่า ข้อมูล สิ่งต่างๆ ลงไปใน BlockChain ซึ่งจะมาแก้ปัญหาการถือข้อมูลจากบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะ เหมือนคนทุกคนบนโลกใช้สมุดจดข้อมูลเล่มเดียวกัน ทุกคนตรวจสอบซึ่งกันและกันได้ เกิด Distributed Ledger Technology

ในขั้นที่สองคือ Native Coin / Native Asset (20.25) ในอีกมุมหนึ่งสิ่งนี้คือ Protocol token เราสามารถเข้าเป็นเจ้าของ Decentralize Computing Network ได้โดยการถือเหรียญ Ethereum

ในขั้นที่สามเราจะมีสิ่งที่เรียกว่า Smart Contract สิ่งที่เรียกว่า Define สร้างสิ่งที่เรียกว่า Decentralize App ขึ้นมาในชั้นที่สามนี้ เดิมในยุค WEB 2.0 เวลาจะเก็บไฟล์เอกสารก็มักจะเก็บไว้ใน Cloud หรือ Dropbox ซึ่งเป็น Centralize file storage ที่บริษัทเดียวเป็นเจ้าของ ในยุค WEB 3.0  จะมี IPFS ที่เป็น Decentralized drop box ที่เราสามารถส่งแบ่งปันข้อมูลร่วมกันได้ และหากใครอยากเป็นเจ้าของก็สามารถก็ถือได้ผ่าน Application Token ซึ่งจะต่างจาก Protocol token ในขั้นที่สอง

เมื่อขั้นที่สามมี Smart Contract และในขั้นที่สองเป็น Programmable Money เราก็สามารถที่จะเขียนโปรแกรมอะไรก็ได้ เราสามารถโปรแกรมการให้บริการทางการเงินหรือ กิจกรรมด้านอื่นๆได้อีกมหาศาล เช่น การกู้เงินโดยไม่ผ่านตัวกลาง (DEFI: Decentralized Finance) การตั้งระดมทุนโดยที่ไม่ต้องผ่านตัวกลาง (ICO: Initial Coin offering) หรือการแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง (Decentralized Exchange Protocol) และการทำงานหลาย ๆ อย่างก็สามารถทำงานได้ด้วยการเขียน Code Program เข้าไป

ในขั้นที่สี่ หรือ Application Layer จะมีธุรกิจที่นำเครื่องมือเทคโนโลยีที่ใช้ยากเข้าถึงลูกค้ามากขึ้นเป็นธุรกิจแบบ Customer feeding เช่นการที่บริษัท BitKub ทำโปรแกรมแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลให้ง่ายต่อการใช้งาน เป็นการย่อยเทคโนโลยีที่เข้าถึงยากให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้นโดยที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องมีความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีนั้น ๆ เลย และเทคโนโลยีแต่ละส่วนก็จะถูกนำไปใช้ในทุกๆ ชั้น เช่น AR/VR จะถูกนำมาใช้เพื่อพรีเซนท์งาน การทำงานแบบ User Interface จะเปลี่ยนไปมีการแสดงผลแบบสามมิติ เช่น METAVERSE และเมื่อมีข้อมูลขนาดใหญ่จนเกิด DEXs (Decentralized Exchange) มีการทำงานร่วมกันในหลายภาคส่วน (Interoperability) ซึ่งเป็นสิ่งที่ WEB 2.0 ไม่มี AI ก็สามารถเอาข้อมูลที่เชื่อมโยงกันนี้มาประมวลผล Big Data เหล่านี้ให้การใช้อินเตอร์เน็ตยิ่ง ละเอียด แม่นยำ Micro Hyper Customization มีการใช้งานที่ฉลาดมากขึ้นและสามารถคาดเดาอนาคตได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ส่วน Block chain ที่มีในชั้นที่ 1 มี Native Coin มีใน Protocol token

ดังนั้นการทำงานในยุค WEB 3.0 นี้จะเห็นว่าระบบมี government System เป็นของตัวเองที่ไม่ต้องพึ่งพาบริษัทใดบริษัทหนึ่ง

นอกจากที่กล่าวมายังมีองค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ (DAO: Decentralized Autonomous Organization ที่สามารถทำงานได้โดยตัวมันเองไม่จำเป็นต้องมีคนควบคุม  ซึ่งต่างจากยุค WEB 2.0 ที่ตัวมีคณะกรรมการมาคอยกำกับ ดูแล ตัดสินใจแทนองค์กรในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งในอนาคตจะเป็นการทำงานขององค์กรที่มี Self Govern ที่ทุกคนมีสิทธิในเป็นเจ้าของหรือร่วมตัดสินใจการทำงานต่าง ๆ ผ่าน Token และในอนาคตทุกอย่างก็จะดำเนินการได้ด้วย Software

NFT: Non Fundable Token

ทุกท่านอาจจะพอทราบถึง bit coin หรือ Ethereum ว่าเป็น Fundable Token ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องของเงินที่เป็นหนึ่งในเงินทุน (fundability) จะเห็นว่าเป็นสิ่งมีมูลค่ามีรูปแบบที่ซ้ำกัน เช่น เงินตรา ทองคำ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในชีวิตคนเราจะมีสิ่งที่เป็นสิ่งที่ Fundable และ Non-fundable แต่ยังคงมีมูลค่า

ตัวอย่าง: ไมโครโฟนธรรมดาราคา 1,000 บาท แต่ถ้าไมโครโฟนตัวนั้นเป็นไมค์ที่ไมเคิล แจ๊คสัน ใช้ร้องในคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิต จะเห็นได้ว่าไมค์ตัวนี้ต่างจากไมค์อื่น เป็น Non-fundable มีมูลค่ามหาศาลในตลาดประมูล แต่กลับกันหากเราถ่ายรูปลงโซเชียลมีเดียรูปภาพของไมค์ตัวนี้กลับมีมูลค่าแค่ 0 บาท เนื่องจากสิ่งที่เคยกล่าวในตอนต้นว่า อินเตอร์เน็ตมีค่า Margin เป็น 0 ต่อให้เข้าถึงมากเท่าใดต้นทุนส่วนเกินก็ไม่เกิด เมื่อมี Digital Abundance ดังนั้นสิ่งที่จะมาแก้ปัญหาดังกล่าวคือ Block Chain ที่จะมาจำกัดจำนวนของไฟล์ให้มีจำกัดเป็นการสร้าง Digital Scarcity ทำให้เราสามารถอัพโหลดไฟล์ภาพไมค์ในรูปแบบ Non-fundable Token ได้และให้มูลค่าสร้างความแตกต่าง โดดเด่น ที่ต่างจากรูปภาพไมค์อื่นๆ ให้มูลค่าได้เหมือนไมค์ในโลกความเป็นจริง / หรือการที่แจ็ค ดอร์ซี่ย์ผู้ก่อตั้งเว็บทวิตเตอร์ (Twitter) ขายทวีตแรกของเขาในราคาราว 90 ล้านบาท << ซึ่งหากย้อนไปช่วงแรกก่อนที่เทคโนโลยีจะพัฒนาก่อนมี block Chain ภาพนี้จะไม่สามารถตีมูลค่าได้เท่านี้เลยเพราะมันสามารถคัดลอกได้อย่างไม่จำกัด

จากตัวอย่างที่กล่าวมาจะเห็นว่าโลกเราจะก้าวสู่ Open Financial Web ที่จะทำให้ของที่มูลค่าทุกชนิดในชีวิตกลายเป็นดิจิทัล แม้ปัจจุบันทุกอย่างอาจจะยังต้องจับต้องได้เป็นสิ่งของแต่ในอนาคตสิ่งเหล่านี้จะไม่จำเป็นต้องเป็น  Actual Asset เช่น เงินไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบของกระดาษ เพลงที่เราฟังไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบของแผ่นซีดี

ในโลกเสมือนเองก็ต้องมีการยืนยันความเป็นเจ้าของมีการสร้างฐานข้อมูลที่ยืนยันตัวตนได้ (Embase) เช่นเดียวกับการที่เรายืนยันตัวตนผ่าน DNA ในระบบก็คือการทำผ่านระบบ Block Chain ฉะนั้นจะไม่แปลกหากอนาคตเราจะมีทอง เงิน สัตว์เลี้ยง บ้าน ที่ดินทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เป็นดิจิทัล ซึ่งจะทำให้เกิดเป็น Digital Economy → คำสองคำที่จะถูกพูดถึงบ่อยคือ 1. Globalization และ 2. Digitization

Globalization คือปรากฎกาณ์ที่มนุษย์เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ (Free Flow of People) และ Digitization คือการที่ข้อมูลเคลื่อนที่อย่างอิสระ (Free Flow of Information) ทั้งนี้ในยุค WEB 3.0 นอกจากสองคำที่กล่าวมา อีกคำที่จะเกิดขึ้นคือ Free Flow of Capital และ Tokenization และทั้งสามสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้เกิด Digital Economy ที่เราอาจจะใช้เวลาในโลกเสมือนมากขึ้น เกิดธุรกิจใหม่ๆ เช่น play to earn, Exercise to earn, Listen to earn, Learn to earn และ Group to earn ซึ่งธุรกิจเหล่านี้เหมือนเป็นการเริ่มต้นช่วงแรกๆที่มี Airbnb (เว็บไซต์/แอพลำคชั่น ที่นำบ้านมาเป็นที่พักชั่วคราวหารายได้เหมือนโรงแรม-เป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดโดยที่ไม่ต้องมีโรงแรมเป็นของตัวเอง), Grab, Uber (แอพพลิเคชั่นที่เปิดให้บริการใช้รถหารายได้ได้-เป็นกิจการรถรับส่งโดยสารที่ใหญ่ที่สุดโดยไม่จำเป็นต้องมีรถเป็นของตัวเอง), YouTube-เป็นช่องสื่อรายการที่มีรายการเยอะที่สุดโดยไม่จำเป็นต้องทำรายการเอง ในอนาคตเราอาจจะเห็นสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ต้องมีเงินเป็นของตัวเองเพราะเป็น Free Flow Capital จะเห็นได้ว่านอกจากที่จะแบ่งปันข้อมูลแบบ P2P แล้วเรายังสามารถแบ่งปันมูลค่า แบบ P2P ได้ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เปิดโอกาสให้คนทุกคนสามารถทาธุรกิจหารายได้ได้อย่างสะดวกมากขึ้นไม่จำเป็นต้องมีต้นทุนสูงก็สามารถตีพิมพ์หนังสือได้ เขียนบล๊อคได้โดยไม่ต้องผ่านสำนักพิมพ์ หรืออาจจะสร้าง blockchain สร้างมูลคำได้โดยไม่จำกัดอายุ และสามารถตอบโต้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ได้อย่างรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน เป็นตัน

แบ่งปันให้เพื่อน :

Related news

Follow us

LATEST NEWS

COMMUNITY

Metaverse Jobs Thailand

(หา สมัครงาน เมตาเวิร์ส)

Metaverse Thailand

(Metaverse Thailand)

Blockchain Engineer

(Blockchain Engineer)

WEB 3.0 Thailand

(WEB 3.0 Thailand)

OpenChat Thailand

(OpenChat Thailand)